วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555



 
ความหมายของนวัตกรรม
         นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วยนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (
Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่3การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
     หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
การประเมินนวัตกรรมตามเกณฑ์ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.เกณฑ์คุณลักษณะส่วนตัวของนวัตกรรม มี 5 ลักษณะ คือ
(1)
 ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
(2)
 สะดวกในการนำไปใช้
(3)
 สำเร็จรูปใช้ได้ทันที
(4)
 ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษามาก
(5)
 ไม่ขัดกับสภาพสังคม
2.
 เกณฑ์ผลกระทบต่อสังคม มี 3 ประการ คือ
(1)
 มีคนนิยมใช้จำนวนมาก
(2)
 ผลของนวัตกรรมอยู่ได้นาน
(3)
 ไม่มีผลในทางลบ
3.
 เกณฑ์การพัฒนาการเรียนการสอน มี 3 ประเด็น คือ
(1)
 เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบการณ์ หรือทักษะ
(2)
 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน เช่น ลดเวลาในการสอน หรือช่วยวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
(3)
 ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียนการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนให้ได้ผลมีผู้สอนจำนวนมากที่นำนวัตกรรมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วไม่ประสบความสำเร็จทั้งนี้เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมนั้นอย่างละเอียดให้เข้าใจ การนำมาใช้จึงไม่ได้ผลเต็มที่เหมือนผู้คิดคนแรก
ความหมายของเทคโนโลยี
           เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2.เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต
 (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3.
 เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรมสารานุกรม
         นวัตกรรม เกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์หาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่มี 3 ลักษณะประกอบกันได้แก่
1.
 จะต้อง เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (feasible idea)
2.
 จะต้อง สามารถนำไปใช้ได้ผลจริง (practical application)
3.
 มีการเผย แพร่ออกสู่ชุมชน
       เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
          
ความแตกต่างของนวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นการคิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือทำการปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วนเทคโนโลยี คือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ หรือจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากผลการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ
        ตัวอย่างนวัตกรรม
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มี แนวคิด ทฤษฎี ระบบ กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวปฏิบัติ และสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพการศึกษา
  โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
2.
 เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
3.
 เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น (รศ.ดร.สำลี ทองทิว คำบรรยายการประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน เอเชียแอร์พอร์ท เซียรังสิต ปทุมธานี)นวัตกรรมจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

      กลุ่มที่1 ได้แก่วิธีจัดการเรียนรู้ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสอนแบบร่วมมือร่วมใจ การสอนแบบเกม การสอนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสอนแบบโครงงาน เป็นต้น
       กลุ่มที่ 2 ได้แก่สื่อการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ สื่อสิ่งตีพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน บทเรียนการ์ตูน แบบฝึก วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)E-learning
ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา
- ศูนย์การเรียน
-
 การสอนแบบโปรแกรม - บทเรียนสำเร็จรูป
 - ชุดการเรียนการสอน
-
 การเรียนการสอนระบบเปิด
-
 การสอนเป็นคณะ
-
 การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
-
 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
-
 การเรียนการสอนทางไกล
-
 เรียนปนเล่น
-
 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI )
นวัตกรรมการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่
1.
 วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คืออะไร2. ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิด เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือ เมื่อนำไปใช้จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และถ้าทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดนั้น มีงานวิจัยรองรับยิ่งทำให้มั่นใจในความสำเร็จ
3.
 โครงสร้าง หรือขั้นตอนการใช้ เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม ถ้านวัตกรรมเป็นสื่อการเรียนการสอนก็จะแสดงโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่น ชุดการสอน ประกอบด้วย ซองกิจกรรมประจำศูนย์ แต่ละซองบรรจุบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม และบัตรเฉลย อาจมีรูปภาพแผนภูมิ และ ของจริง นอกจากนี้ยังมีคู่มือครู ข้อทดสอบก่อน  หลังการเรียน แผ่นฝึกปฏิบัติ
4.
 การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วย วิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผลประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน   ดังนั้น จึงสามารถจัดประเภทของนวัตกรรมการเรียน การสอนให้สอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนเป็น 4 ประเภทดังนี้
1.
 นวัตกรรมที่ปรับปรุงทั้งระบบการเรียนการสอน
(1)
 รูปแบบวิธีการระบบ (The System Approach Model) ของ DickและCarey (1985)
(2)
 กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล ของ ชนาธิป พรกุล (2535)
(3)
 การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (e-Learning)
2.
 นวัตกรรมที่ปรับปรุงตัวป้อน
(1)
 แฟ้มงานของครู (Teaching Portfolio)
(2)
 การสอนเป็นทีม (Team Teaching)
(3)
 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(4)
 หลักสูตรเพศศึกษา และชีวิตในครอบครัว
3.นวัตกรรมที่ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
(1)
 รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Model)
(2)
 การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Child -Centered Approach)
(3)
 การสอนแบบสตอรีไลน์ (Storyline Approach) ของ Steve Bell (1967)
(4)
 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแคทส์ (CATS) ของ ชนาธิป พรกุล (2543
4.นวัตกรรมที่ปรับปรุงผลผลิต
(1)
 การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
(2)
 การประกันคุณภาพการศึกษาการประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอนการเลือกนวัตกรรมใดมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน ควรพิจารณาลักษณะดังนี้
1)
 มองเห็นชัดเจนว่านวัตกรรมนั้นดีกว่าของเดิมที่ใช้อยู่ในด้านความสะดวก ความประหยัดและพึงพอใจ
2)
 ไม่ขัดแย้งกับประเพณีวัฒนธรรม ค่านิยม และความต้องการของผู้ใช้
3)
 ไม่มีความซับซ้อนยุ่งยากในการใช้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความรู้ใหม่มากนัก4) สามารถทดลอง หรือทดสอบได้ โดยใช้เวลาไม่มาก
5) สามารถเห็นผลของการใช้ได้อย่างชัดเจนและมีประโยชน์คุ้มค่าเพื่อให้การใช้นวัตกรรมคุ้มค่าสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตรงตามวัตถุประสงค์